เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 2. อันธการวรรค สิกขาบทที่ 9 บทภาชนีย์
บ้าง ผู้อื่นบ้าง ด้วยนรกบ้าง ด้วยพรหมจรรย์บ้าง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับ
ว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุ
ทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจัณฑกาลีจึงสาปแช่งตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง ด้วยนรกบ้าง
ด้วยพรหมจรรย์บ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[875] ก็ภิกษุณีใดสาปแช่งตนเองหรือผู้อื่นด้วยนรกหรือด้วยพรหมจรรย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[876] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ตนเอง คือ เฉพาะตัวเอง
คำว่า ผู้อื่น ได้แก่ อุปสัมบัน ภิกษุณีสาปแช่ง(อุปสัมบัน)ด้วยนรกหรือด้วย
พรหมจรรย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[877] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สาปแช่งด้วยนรกหรือ
ด้วยพรหมจรรย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :180 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 2. อันธการวรรค สิกขาบทที่ 9 อนาปัตติวาร
อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ สาปแช่งด้วยนรกหรือด้วยพรหมจรรย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สาปแช่งด้วยนรกหรือด้วย
พรหมจรรย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุณีสาปแช่งด้วย(คำที่บ่งถึง)กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรตวิสัย หรือคน
โชคร้าย1 ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีสาปแช่งอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[878] 1. ภิกษุณีมุ่งอรรถ2
2. ภิกษุณีมุ่งธรรม3
3. ภิกษุณีมุ่งสั่งสอน
4. ภิกษุณีวิกลจริต
5. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ 9 จบ

เชิงอรรถ :
1 คือสาปแช่งให้เป็นคนมีรูปร่างแปลกประหลาดว่า “ขอให้เราตาบอด เป็นง่อย หรือให้คนอื่นเป็นอย่างนี้ ๆ”
(กงฺขา.ฏีกา 497)
2 “มุ่งอรรถ” ในที่นี้หมายถึงกล่าวอรรถกถา (วิ.อ. 2/878/498)
3 “มุ่งธรรม” ในที่นี้หมายถึงบอกบาลี (วิ.อ. 2/878/498)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :181 }